วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประวัติส่วนตัว

นางสาว  จรรยพร สมศรี
เอกการประถมศึกษา
รหัสนักศึกษา 564188010

ทดสอบ

                                                       สุขภาพแบบองค์รวม
           การรักษาโรคจะเรียกได้ว่าเป็นศิลปะหากผู้ทำการรักษากำหนดได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างระหว่างเยียวยาคนไข้และจัดการให้ทุกอย่างดำเนินไปเป็นขั้นเป็นตอน
            เมื่อหมอกับคนไข้พบกัน  ผลการรักษาที่แท้จริงนั้นต้องขึ้นอยู่กับคนทั้งสอง  แต่สำหรับการแพทย์ยุคใหม่  ทั้งหมอและคนไข้ต่างถูกบ่มเพาะมาในวัฒนธรรมซึ่งมุ่งความสำคัญไปที่หมอเท่านั้นกล่าวคือหมอคือผู้ที่สามารถขจัดปัดเป่าอาการเจ็บป่วยให้หมดสิ้นไปได้  โดยที่ไม่เกี่ยวอะไรกับคนไข้เลย
              หมอสมัยใหม่มักมุ่งจัดการแต่เฉพาะอาการที่คนไข้ต้องการให้รักษาโดยมีหน้าที่เฉพาะแต่การรักษาไข้  ไม่ได้รักษาคน  เช่น รักษากามโรค  แต่ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับนิสัยชอบเที่ยวสำส่อนของคนไข้  กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ  ถ้าผู้ป่วยปวดหัว  หมอจะให้ยาแก้ปวด  ถ้าผู้ป่วยเครียดก็ให้ยาลดความเครียด
             แต่ถ้าผู้ป่วยตกงาน  หมอถือว่าการตกงานไม่น่าเกี่ยวกับอาการของโรค   และเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการแพทย์  ทั้งที่จริงๆ แล้วการที่ผู้ป่วยปวดหัวอาจเนื่องมาจากความเครียดอันเกิดมาจากการตกงานก็ได้นอกจากนั้น  สิ่งหนึ่งที่การแพทย์สมัยใหม่ไม่ได้ให้แก่คนไข้ก็คือ  ความรู้ความเข้าในตนเอง  ทั้งนี้เพราะมุ่งเน้นไปที่การใช้ยา  “แช่แข็ง"  ความเจ็บปวด  ซึ่งแม้จะทำให้คนไข้รู้สึกสบายขึ้น  แต่นั้นไม่ได้หมายถึงว่าโรคหรืออาการนั้นๆ อาจจะไม่ย้อยกลับมาอีก  ทั้งทำให้คนไข้ไม่ยอมตระหนักถึงความรับผิดชอบต่ออาการเจ็บป่วยของตนเองว่ามีสาเหตุที่แท้จริงมาจากอะไร  โดยคิดแต่เพียงว่า  เจ็บป่วยเมือไหร่ยกให้เป็นหน้าที่น้าที่ของหมอไปก็หมดเรื่อง
         ตรงข้ามกับปรัชญาการแพทย์ตะวันออกโดยเฉพาะการแพทย์จีน  ที่มองว่าหากเราปล่อยตัวเองให้ตกงานหรือไม่มีอะไรทำเป็นระยะเวลานานๆ  จะส่งผลกระทบกระเทือนถึงตับ และทำให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์  แก่  หงุดหงิด  เก็บกด  และขาดความเชื่อมั่น  ซึ่งถือเป็นโรคภัยอย่างหนึ่งด้วย
             ที่ยิ่งกว่านั้น  การแพทย์จีนจะไม่เพียงวินิจฉัยโรคจากอาการเจ็บป่วยทางกายของคนไข้เท่านั้น  แต่จะคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ  ด้วยไม่ว่าจะเป็น  เพศ  วัย  สภาพอารมณ์ของผู้ป่วย  รวมทั้งเวลา ฤดูกาลและภูมิประเทศขณะที่ทำการรักษาด้วย  เพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศในฤดูกาลต่างๆ  จะมีผลต่อร่างกาย  การให้ยาจึงต้องแตกต่างกันออกไป  แม้จะเป็นโรคชนิดเดียวกันก็ตาม
             หากเปรียบเทียบการวินิจฉัยโรคระหว่างการแพทย์ตะวันตกกับตะวันออกแล้ว  จะเห็นว่ามีการให้ความสำคัญต่างกันดังนี้
                 ตะวันตกมองว่า  เชื้อโรคที่เข้าสู้ร่างกาย  (สาเหตุ)  ®  เซลล์  ®  อวัยวะ  ®  ความเจ็บป่วยทางกาย  (ผล)
                 ตะวันออกมองว่า  ความผิดปกติภายใน  เช่น  จิตใจ   (สาเหตุ)  ®  พลังสมดุลในร่างกายแปรปรวน  ®  อวัยวะภายใน  ®  ความเจ็บป่วยทางกาย  (ผล)
                อย่างไรก็ตาม  ชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่ในยุคนี้  ต่างต้องพึ่งพาอาศัยวิทยาการทางการแพทย์สมัยใหม่  เพราะเป็นสิ่งซึ่งใกล้ตัวกว่า  แต่ก็มีจำนวนคนไม่น้อยที่ผิดหวังกับการแพทย์ยุคนี้  แล้วหันหลังกลับไปหาการแพทย์แผนทางเลือก  ซึ่งเป็นสิ่งใหม่สำหรับการแพทย์ตะวันตก  แต่เป็นสิ่งเก่าแก่ที่มีมานานแล้วของการแพทย์ตะวันออก
               ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
               คงเป็นเพาะว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่การแพทย์สมัยใหม่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของผู้ป่วยได้  กล่าวอีกในหนึ่งก็คือ  แม้วิทยาการทางการแพทย์สมัยใหม่จะก้าวล้ำไปเพียงใดก็ตาม  ก็ต้องพบกับปริศนาที่ชวนให้พิศวง  นั่นคือ  ตอบคำถามไม่ได้ว่าทำไมผู้ป่วยจึงหายจากโรคร้ายแรงที่เรียกว่า  โรคซึ่งไม่มีทางรักษาได้ทั้งๆที่การแพทย์สมัยใหม่หมดหนทางแล้ว
             จากรายงานทางการแพทย์มากมายที่ชี้ให้เห็นว่า  มีผู้ป่วยด้วยโรคต่างๆ  เช่นมะเร็ง  โรคหัวใจ  เบาหวาน  และโรคอ้วนบางราย  ที่หมอลงความเห็นแล้วว่า  มีอาการเข้าขั้นวิกฤตและไม่มีโอกาสหายได้  หรือมีโอกาสรอดชีวิตเพียงน้อยนิดเท่านั้น
              แต่กลับหายขาดได้อย่างน่าอัศจรรย์  บรรดาผู้ป่วยดั่งกล่าวข้างต้นไม่เพียงหายจากโรคร้ายที่เป็นอยู่เท่านั้น  แต่ยังมีความสุขในชีวิตเพิ่มขึ้นอีกด้วย  อะไรคือสิ่งที่อยู่เบื้องหลังความน่าพิศวงนี้?
               ก่อนที่คนเราจะมีอาการเนื้องอกหรือโรคหัวใจอย่างแรง  มักจะมีเค้าก่อหวอดมาจากความผิดปกติในชีวิตบางอย่างไม่ว่าจะเป็นผลกระทบในด้านรักการงานหรือในด้านอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสุขภาพทางร่างกาย
              จากรายงานทางการแพทย์ที่ได้ศึกษาประวัติคนไข้ซึ่งสามารถเอาชนะโรคร้ายแรงได้  พบว่าคนเหล่านั้นล้วนแต่ประสบกับวิกฤตการณ์ของชีวิตอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนการเจ็บป่วยทั้งสิ้นนอกจากนั้นผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่า  สภาพทางอารมณ์ส่วนใหญ่ที่นำไปสู้การเป็นมะเร็งก็คือ  ความท้อแท้สิ้นหวังและเบื่อหน่ายกับชีวิต
            กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ  มีสายโซ่ของเหตุการณ์ต่างๆที่เข้ามากระทบกับสภาพจิตใจและอารมณ์จนนำไปสู้การเจ็บป่วยทางกาย
            ดั้งนั้น  ในกระบวนการรักษาที่แท้จริงจึงต้องประกอบไปด้วยการเปลี่ยนแปลงจากด้านในของผู้ป่วยเองด้วย  ไม่ว่าจะเป็นจิตใจทัศนคติ  ตลอดจนสุขนิสัยประจำวัน  รวมทั้งในด้านความสัมพันธ์กับผู้คนหรือสิ่งอื่นๆ  ภายนอก  สิ่งเหล่านี้เองเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่ทำให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูสุขภาพได้ด้วยตนเอง
          หากจะกล่าวสรุปปัจจัยที่ช่วยให้ผู้ป่วยหายจากโรคที่ไม่มีทางรักษา  สามารถแบ่งได้เป็น  7  ประการ  ดังนี้
1.            ต้องไม่ท้อแท้สินหวัง 
      โรคภัยมักทำให้เราท้อแท้  ไม่ว่าจะเป็นแค่ไข้หวัดธรรมดาๆหรือโรคร้ายแรง  สาเหตุของโรคมักเกิดจากความเครียดในเรื่องราวสารพัน
        หากผู้ป่วยใช้เวลาในช่วงนี้ทบทวนชีวิตที่ผ่านมา  และพยายามทำความเข้าใจตัวเองให้มากขึ้น  และค่อยๆ  เรียนรู้ถึงความตายซึ่งกำลังย่างกลายเข้ามา  มาในเร็ววันนี้ก็ต้องในวันหนึ่งข้างหน้าอย่างแน่นอนและหลีกเลี่ยงไม่ได้กันทุกคน  สิ่งเหล่านี้เป็นประสบการณ์ที่พิเศษสุดและเป็นสิ่งมหัศจรรย์ในชีวิตก็ว่าได้  เขาอาจเริ่มรู้จักทำจิตใจให้สงบนิ่งมีเวลาซึมซับกับธรรมชาติ  และตระหนักรู้ถึง
สิ่งที่เป็นอยู่  ณ  ที่นี้  ในขณะนี้มากขึ้น
       เมื่อทำให้ใจยอมรับได้ว่า  เวลาของเขาอาจลดน้อยลงอย่างหลีกเลียงไม่ได้  ความกระวนกระวายใจก็จะค่อยๆ  ลดลง  ไม่สนใจกับผลของวันพรุ่ง  แต่จะเข้าไปประสบสัมผัสกับการรังสรรค์ของชีวิตมากยิ่งขึ้น  จนมีความพึงพอใจในสิ่งที่เป็นอยู่และเป็นไปได้ในทุกๆขณะ
                            นี่ถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญในกระบวนการรักษาโรค
                     จากรายงานทางการแพทย์แสดงให้เห็นว่า  ผู้ที่ทำตัวให้หมกมุ่นกับแรงทะเยอทะยานด้านต่างๆ  มักจะเจ็บป่วยได้ง่ายกว่า  และมากกว่าบุคคลที่ปล่อยวางกับสิ่งเหล่านี้ได้
                   จากการศึกษาเฉพะรายแสดงให้เห็นว่า  ผู้ที่จิตใจหมกมุ่นอยู่กับแรงกระตุ้นจากความทะเยอทะยาน   เป้าหมาย  กำหนดเวลา  และความสำเร็จ  มักจะเป็นโรคหัวใจกันมาก  และภูมิคุ้มกันโรคก็จะลดลงเรื่อยๆ
                 ที่จริงแล้วโรคร้ายที่มาเยือน  กับทำให้เราได้สัมผัสกับบางด้านของชีวิตที่เราได้ละเลยมาเป็นเวลาเนิ่นนานแล้ว  สิ่งเล็กๆ  น้อยๆ  ที่เราคิดว่าไม่สำคัญและได้ปล่อยปละละเลยก่อนการเจ็บป่วย  อาจกลายเป็นสิ่งสำคัญในการเยียวยารักษา
ยามเช้า  สัมผัสละมุนละไมของเด็กน้อย  และนกที่กำลังโบยบิน...
2.             รับผิดชอบต่อความเจ็บป่วยด้วยตัวเอง
        ผู้ที่หายป่วยจากโรคร้ายซึ่งแพทย์ได้ลงความเห็นว่า  ไม่สามารถมีชีวิตอยู่เกินเวลาที่กำหนดได้ทั้งยังฮึดสู้ขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ
         พวกเขาตัดสินใจที่จะมีชีวิตอยู่ด้วยตัวของเขาเอง  หยุดมองหาความช่วยเหลือจากภายนอก  แล้วหันกลับมาศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเองให้มากขึ้น  ซึ่งกลับทำให้สุขภาพฟื้นคืนขึ้นมาอย่างไม่น่าเป็นไปได้
         ดูราวกับว่า  พวกเขาได้ก้าวไปพ้นขอบเขตของการแพทย์ปัจจุบัน  แพทย์กลายเป็นแค่ตัวแทนของวิทยาศาสตร์  ของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  พวกเขาตระหนักด้วยตัวเอง  ไม่มีการแพทย์สาขาใดสำคัญต่อความเจ็บป่วยของเขา  นอกจากตัวของเขาเอง
         เมื่อปลอดพ้นไปจากการพึ่งพิงหมอหรือยาใดๆ  คนเรามักจะมีความเป็นผู้ใหญ่  และรับผิดชอบต่อโรคภัยไข้เจ็บของตัวเองมากขึ้นเริ่มสังเกตพฤติกรรมของตัวเองเพื่อค้นหาสาเหตุที่มาของโรค  พร้อมกันนั้นก็จะสำนึกถึงความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นๆทำให้สามารถค้นพบวิธีการรักษาความเจ็บป่วยได้
3.อาหารที่เหมาะสม
       เมื่อผู้ป่วยตัดสินใจที่จะรักษาโรคด้วยตนเอง  ปัจจัยหนึ่งที่เป็นประโยชน์ในการรักษาได้แก่  อาหารที่เหมาะสม โดยเฉพาะอาหารประเภทข้าว  ธัญพืช  ผักผลไม้    และเนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ  เช่น  ปลา  และเป็ดไก่
        อาหารที่กล่าวข้างต้นนั้น  ก็คือโภชนาการที่ยึดหลักการรักษาโรคตามแบบโบราณของการแพทย์ตะวันออก  ได้แก่  อาหารประจำวัน  สมุนไพร  และตัวยาธรรมชาติ  ซึ่งช่วยในการเยียวยารักษาและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก
       ทั้งนี้ก็เพราะว่า  อาหารประเภทข้าว  ธัญพืช  และผัก    ช่วยลดไขมันที่มีอยู่ในเลือด  ลดการไหลเวียนของเลือด  และเพิ่มปริมาณของออกซิเจนในการหล่อเลี้ยงเซลล์ทั่วในร่างการ  จึงทำให้เรารู้สึกแข็งแรงกระปรี้กระเปร่า  ขณะเดียวกันก็ช่วยให้ร่างกายละลายไขขันส่วนเกินที่อุดตันในกระแสเลือดออกไป
4.ตั้งปณิธานแน่วแน่ที่จะหาย  
                    ได้มีการค้นพบว่า  กลุ่มผู้ที่เศร้าโศกถึงญาติมิตรหรือคนรักที่เสียชีวิตไปแล้ว  มีอัตราการตายมากกว่าในกลุ่มที่ไม่เคยประสบภาวะเช่นนั้น
                  อะไรคือการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่เกิดขึ้น  ในบุคคลที่กำลังทนทุกข์ทรมาน  จากสิ่งที่สังคมเรียกว่า  ความรันทดใจ
                   ผู้ที่ประสบภาวะดั่งกล่าว  มักหมดอาลัยในชีวิต  อันมีผลให้กลไกลป้องกันโรคของร่างกาย
                 การวิจัยพบว่า  ไฮโปธารามัส   มีอิทธิพลมหาศาลต่อระบบภูมิคุ้มกันโรคและระบบต่อมร็ทิอไฮโปธารามัสแปรปรวนไปตามสภาวะอารมณ์แพทย์จึงมีการปรับระบบภูมคุ้มกัน  โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า  การปรับสภาวะประสาทอัตโนมัติ
                 กล่าวคือ   เป็นวิธีการฝึกควบคุมอารมณ์  เช่น  ความกังวล  โดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เข้าช่วย  เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงการทำงานของร่างกายที่นอกเหนืออำนาจของจิตใจ  เช่น  ควบคุมความดันโลหิต หรืออัตราการเต้นของหัวใจ
5 .     ความเชื่อ
                ได้มีการศึกษาถึงผลกระทบของความเชื่อที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจของคนเรา  โดยนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งของรัฐฯ  ซึ่งได้ออกไปทำแบบสอบถามในหัวข้อการกินแมลงสาบ
                 แน่ล่ะไม่มีใครตอบว่า  ยอมกินแมลงสาบ  และเมื่อถามว่าทำไม  ก็ได้รับคำตอบว่า
                    แมลงสาบสกปรกจะตาย  แถมเป็นพาหะของโรคสารพัด
เมื่อถามต่อว่าถ้าเอาไปอบฆ่าเชื้อจนปราศจากเชื้อโรค  100%  แล้วล่ะ  ก็ได้รับคำตอบว่า อ้อมแอ้ว่าแหมก็กินไม่ลงอยู่ดีแหละ  ทำไมล่ะ  มันสะอาดจนปลอดเชื้อโรคแล้วนะ  ก็เพราะมันเป็น  แมลงสาบ น่ะสิ
              นี่จะเห็นได้ว่า  คำตอบได้เปลี่ยนจากสิ่งที่จะก่อให้เกิดโรคร้าย  (ทางกาย)  ไปสู่ความเชื้อที่ไม่สามารถอธิบายได้แล้ว
                         นอกจากนั้น  ในกระบวนการรักษาโรคความเชื่อมั่นจะส่งผลด้านจิตวิทยาอย่างลึกซึ้ง  การวิจัยแสดงให้เห็นว่า  เมื่อผู้ป่วยถูกให้  ยาหลอก  และทำให้เขาเชื้อว่าสามารถระงับความเจ็บปวดได้  ผลก็คือผู้ป่วย  รู้สึก  ว่าความเจ็บปวดได้บรรเทาลงจริงๆ
6.ความเอาใจใส่จากคนรอบข้าง
               จากการศึกษาหลายๆ  ครั้งชี้ให้เห็นว่า  ความต้องการพื้นฐานอย่างหนึ่งของมนุษย์ก็คือ  ความต้องการที่จะรับความรักและความเอาใจใส่จากคนรอบข้างผู้ป่วยทุกร้ายที่หายจากโรคได้เพราะว่าต่างได้รับกำลังใจจากคนอื่นๆ
                    หากปราศจากสิ่งเหล่านี้ผู้ป่วยก็คงตกอยู่ในความหวาดหวั่นและกลัวนั่นเป็นภาวะอารมณ์หลายๆ  คนกำลังประสบอยู่ในปัจจุบัน
                    นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองให้กระต่ายกินอาหารที่มีไขมันสูงกว่าปกติเป็นเวลาหลายเดือน  เมื่อนำมาตรวจก็พบว่า  พวกมันมีอาการไขมันอุดตันในเส้นเลือด  โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณหัวใจเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับกระต่ายอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งให้อาหารเหมือนกัน  แต่ในทุกๆวันจะนำมันออกมาจากกรง  และพูดคุยกับมันด้วยน้ำเสียงที่แสดงความรักใคร่เอ็นดูอย่างอ่อนโยน
                    ดังนั้น  ผู้ป่วยต้องยอมรับในข้อนี้  ญาติมิตรคนใกล้ชิดก็ต้องเข้าใจ และเอาใจใส่ให้มากขึ้นด้วย
7.  มีจุดหมายในการมีชีวิต        

                    เมื่อถามว่า  อะไรคือจุดหมายที่ทำให้สู้ต่อ  คำตอบที่ได้รับมามักจะคล้ายคลึงกันคือ
                                    ผมยังตายไม่ได้  จนกว่าลูกชายจะเรียนจบ
                                 พวกเขาติองการผมมากในงานใหญ่ชิ้นนี้
  ไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่า  อะไรคือจุกหมายของชีวิต   แต่ละคนยอมมีจุดหมายที่ต่างกัน
ผู้ที่เอาชนะโรคร้ายได้ต้องมีความเชื่อมั่นว่าเขาจะหายจากโรคมีจุดหมายต่อการมีชีวิตอยู่อย่างชัดเจน  เพราะมันทำให้เขารู้สึกถึงความสำคัญของการมีชีวิตอยู่และการสร้างสรรค์ในชีวิตสำหรับตนเองและผู้อื่น
                     จากปัจจัยทั้ง  7  ประการซึ่งมีอิทธิพลอย่างมหาศาลต่อสุขภาพที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดนั้น  จะเห็นได้ว่านอกจาก   อาหารที่เหมาะสมแล้วปัจจัยอื่น  อีก  6  ประการกลับเป็นปัจจัยทางด้านจิตวิทยา  และ  สภาวะอารมณ์ความรู้สึก  ทั้งนั้น
                       นอกจากนั้น  ยังมีปัจจัยอื่นๆ  อยู่นอกเหนือขอบเขตของวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์หลายประการ  ซึ้งไม่อาจพิสูจน์ทดลองให้เห็นกันได้ในห้องทดลองวิทยาศาสตร์
                           ดังนั้น  จึงไม่ใช่เรื่องที่แปลก  หากคนสองคนเป็นโรคชนิดเดียวกัน  ได้รับอาหารและยาเหมือนกัน    แต่คนหนึ่งหายจากโรคได้  ในขณะที่อีกคนดูเหมือนจะหมดหวัง

               สรุปได้ว่า  บรรดาแพทย์สมัยใหม่ยอมรับแล้วว่า  ในการรักษาโรคนั้นจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยด้านอื่นๆ  ด้วย   นั้นก็คือการเข้าไปสัมผัสกับห้วงลึกในจิตใจของมนุษย์เรา
                         และนั้นก็คือการหันกลับไปหาภูมิปัญญาดั่งเดิมของการแพทย์ตะวันออก  ที่มุ่งเน้นถึงสิ่งที่อยู่เหนือไปกว่าสุขภาพทางร่างกาย...การดูแลรักษาสุขภาพแบบองรวม

                                         

                                                        เอกสารอ้างอิง/บรรณานุกรม 
                                                                          มนตรี  ภู่มี.
                                           สุขภาพดี ใจ  สร้างได้.--กรุงเทพฯ: ดีเอ็มจี,  2552.
                                                                 จำนวน  330  หน้า.
                                       1. สุขภาพ.  2.  จิตใจและร่างกาย  I.  ชื่อเรื่อง.
                                                                                 613


      
     
                 
                      ธัญวรรณ สุพร